Skip to content
(ตอนที่ 1)
สถาบันพระแท้สมเด็จโตประเทศไทย ขอนำเสนอความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับคำนิยาม ทางพระเครื่องและเครื่องราง คืออะไร
1. พระเครื่อง
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2544 ได้ให้ความหมายพระเครื่องว่า ” พระพุทธรูปองค์เล็กๆ ที่นับถือว่าเป็นเครื่องคุ้มครองป้องกันอันตราย(ย่อมาจากคำ พระเครื่องราง )
นั่นคือพระเครื่อง มาจากคำว่า ” พระ” บวกกับ ” เครื่องราง ” หมายถึง รูปลักษณะของพระพุทธเจ้าหรือ พระสงฆ์ ที่นำมาใช้เหมือนเครื่องราง
2 เครื่องราง
เครื่องราง หมายถึง ของที่เชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ สามารถดลบันดาลให้เกิดความสำเร็จตามที่ปรารถนา เช่น เป็นมหานิยม เกิดโชคลาภ ยิงไม่เข้า รักษาโรค และอื่นๆ
ดังนั้นสรุปได้ว่า “พระเครื่องและเครื่องราง” จึงถูกนำมาใช้ด้วยความเชื่อที่ใกล้เคียงกัน คือ เป็นสี่งศักดิ์สิทธิ์ ที่สามารถดลบันดาลให้เกิดความสำเร็จตามที่ปรารถนา จะต่างกันเฉพาะรูปลักษณ์เท่านั้น “พระเครื่องจะเป็นรูปพระพุทธเจ้าหรือพระสงฆ์ ส่วนเครื่องราง จะเป็น ตะกรุด , ลูกอม , กุมารทอง, เขี้ยวเสือ, งาช้าง ฯลฯ เป็นต้น
ความเป็นมา
1. เครื่องราง เกิดก่อนพระเครื่องหลายพันปี หรือเกิดคู่กันมาพร้อมกับมนุษย์ก็ว่าได้ ซื่งมนุษย์โบราณก่อนมีศาสนา จะนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามธรรมชาติ เช่น นับถือผีสางเทวดา , เจ้าป่าเจ้าเขา ,เทพประจำฟ้าประจำดิน ,เขี้ยวต่างๆ ,ไม้กลายเป็นหิน, ไม้กางเขน, พระพิฆเนศ ฯลฯและอื่นๆ
2 คำว่าพระเครื่อง สันนิฐานว่าน่าจะเกิด ในสมัย ร. 5 ตอนสั่งเครื่องจักรมาทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกต่างๆ มีการผลิตเหรียญเกจิต่างๆขึ้นด้วยเครื่องจักร ว่า ” พระเครื่อง” ปัจจุบันเรียกพระองค์เล็กๆพิมพ์ทรงต่างๆ เรียกว่าพระเครื่อง เลยเป็นที่มาของ ” พระเครื่อง”
จึงสรุปได้ว่า ” เครื่องรางเกิดก่อนพระเครื่องหลายพันปีหรือเกิดมาคู่กับมนุษย์ ส่วนคำเรียกว่าพระเครื่องเรียกมา 100. กว่าปีครับ
ที่มา สถาบันพระแท้สมเด็จโตประเทศไทย 20/4/2561