สวัสดีครับ มาต่อกันกับตอนที่ 2 ของ ISO 9000 กับวงการพระเครื่องครับ ตอนที่แล้วได้กล่าวถึงตัวมาตรฐานไปบ้างแล้ว และได้ทิ้งท้ายไว้ว่า ระบบ ISO นั้นเริ่มต้นจากธุรกิจ และอุตสาหกรรม รถยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักก่อน เพราะต้องการให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนนั้น มีความเข้าใจถึงคุณภาพ ซึ่งบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านั้นได้ปรับปรุงมาโดยตลอด โดยได้รากฐานจากการผลิต อาวุธยุทโธปกรณ์ในสงครามมาก่อน ทีนี้เมื่อผู้ผลิตชิ้นส่วนเหล่านั้นต้องมาทำงานผลิตชิ้นส่วนให้บริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งหลาย พวกบริษัทใหญ่เขาจะมั่นใจได้อย่างไรว่าบริษัทเล็กๆเหล่านั้นทำได้ตามมาตรฐานบริษัทหรือไม่ และจะประกันได้หรือไม่ว่าจะทำของให้เขาได้ไม่แกว่งไปแกว่งมา ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลิตภันท์ของบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านั้น
ทีนี้มายกตัวอย่างง่ายๆกันครับ ถ้าเราจะเข้าไปกินอาหารซักร้านหนึ่ง ที่ร้านนี้ติดมาตรฐาน ISO 9000 ไว้เราจะได้อะไรบ้างในเรื่องอาหาร
- เมื่อเราเข้าไปในร้าน ก็จะมีพนักงานในร้านปฏิบัติกับเรา เหมือนๆกับที่ทำกับลูกค้าท่านอื่นๆ ครับ เช่น สวัสดี เชิญนั่ง สั่งอะไรครับ เป็นต้น
- เมื่อเราสั่งอาหาร พนักงานก็อาจจะทวนให้เราฟังว่าเราสั่งอะไรบ้าง เพื่อประกันไม่ให้ทำผิด
- ไปทำอาหารให้เรา พ่อครัวก็จะทำตามสูตรอาหารเป๊ะๆเลย เพื่อประกันว่าจะเหมือนกันทุกจาน เช่น ผัดข้าวผัด ใส่นำ้มันก่อน ใส่ใข่ก่อน ใส่ข้าว ใส่นำ้ปลา 2ช้อน นำ้ตาล 1 ช้อน นำ้มันหอย 1 ช้อน ผัดต่ออีก 2 นาที แล้วจัดใส่จาน เป็นต้น
- พนักงานนำอาหารมาเสริฟ์
- เรียกเก็บตังค์ พนักงานอาจมาทวนอาหาร แล้วคิดตัง
- เดินส่งลูกค้า ขอบคุณลูกค้า
เป็นไงบ้างครับ ร้านอาหาร ISO 9000 ของเรา ท่านเพื่อนสมาชิกคิดว่าข้าวผัดที่เราสั่งจะอร่อยมั้ยครับ? อร่อยกว่าร้านอื่นๆมั้ยครับ? ท่านคิดว่าไม่น่าเกี่ยวกันใช่มั้ยครับ ถูกต้องครับ ISO 9000 ไม่ได้ทำให้อร่อยกว่านะครับ แต่บอกได้ว่าขั้นตอนที่ผมกล่าวมานั้น เขาจะทำเหมือนกันกับลูกค้าท่านอื่นๆ แน่นอน อร่อยหรือไม่ ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ ปัจจุบันร้านค้าอื่นๆ เดี๋ยวนี้ก็มีมาตรฐานแบบนี้ โดยไม่ต้องมี ISO 9000 ก็ได้ แต่ผมบอกไว้ก่อนว่า ISO 9000 นั้นต้องมีค่าใช้จ่ายในการตรวจรับรองตลอดอายุ ISO ดังนั้น ท่านอาจได้รับบริการที่ดีขึ้น อาหารไม่รู้อร่อยหรือป่าว แต่ที่แน่ๆ ราคาก็อาจต้องสูงกว่า เพราะมีต้นทุนเพิ่มเรื่องใบรับรอง(ISO จะรับรองเฉพาะเอกสาร ขั้นตอน วิธีการเท่านั้น ไม่ได้รับรองความอร่อย หรือสูตรของอาหารของแต่ละที่ ครับ)
ถ้าในวงการพระเครื่องยกตัวอย่างการทำพระในยุคนี้ เมื่อท่านเจ้าอาวาส เจ้าภาพ เจ้านาย อยากทำวัตถุมงคลให้ร่วมทำบุญ แจก หรือให้บูชา ท่านต้องเริ่มดังนี้( ISO 9000 ควรจะอยู่ตรงขั้นตอนไหน)
- ออกแบบ พระเครื่อง หรือวัตถุมงคล
- อนุมัติแบบ ทำแม่พิมพ์ หรือบล๊อค
- ผลิต หรือ ปั้มตามสูตรแต่ละที่ (ตรงจุดนี้ถ้าทำ ISO แล้วจะได้ประโยชน์ดีมาก)
- ส่งให้วัดตามจำนวน แล้วปลุกเสก
- แจกจ่าย เช่าบูชา
จะเห็นได้ว่าจุดที่ผมแนะนำ คือ โรงงาน หรือ กระบวนการผลิต ถ้ามี ISO ก็น่าจะดี เพราะจะทำอะไรต้องมีหลักฐานยืนยัน จะได้ไม่ปั้มพระเกินจำนวน หรือปั้มพระออกมาในขณะที่ผลิตอยู่ พอมีแม่พิมพ์ชำรุด (ถ้ามี ISO ต้องแจ้ง และบันทึก) ไม่ยอมเปลี่ยนใหม่ ฝืนปั้มออกมาเละเทะ ทำให้เกิดการถกเถียงกันว่า ผิดพิมพ์บ้าง ไม่เหมือนบ้าง และแถมยังมีพระเกินจำนวน ออกมาทำเป็นพระปลอมอีกต่างหาก เป็นยังไงบ้างครับ น่าจะพอเห็นภาพชัดมากขึ้นเลยนะครับ เดี๋ยวตอนหน้า(ตอนจบ)เราจะพูดถึง ISO กับวงการพระรุ่นเก่าๆ เช่นพระสมเด็จ พระกรุ พระรุ่นเก่าๆ กันครับ
เครดิตภาพ อินเตอร์เนต