ISO 9000 กับวงการพระเครื่อง ตอนที่3(ตอนจบ)

มาตรฐาน TSTi

 สวัสดีครับ เรื่องมาตรฐาน ISO9000 ก็ดำเนินการมาถึงตอนที่ 3 แล้วนะครับ ซึ่งเป็นตอนจบแล้วครับ เนื้อหาพอสมควร ให้เพื่อนผู้ที่นิยมบูชาพระเครื่อง และเครื่องราง พอเข้าใจ ก็ถือว่าบรรลุถึงความตั้งใจของทีมงาน DNA สมเด็จโต ของเราแล้วครับ เพราะถ้าเขียนไปเรื่อยๆ  เดี๋ยวจะเป็นเล่มครับ(ฮ่าๆ)            ตอนที่แล้วเราได้กล่าวถึงวงการพระใหม่ไปแล้วว่า ISO 9000 ควรจะมีบทบาทที่สำคัญในส่วนที่เป็นโรงงานรับจ้างผลิต ปั้มพระ หล่อพระ จะได้ประโยชน์มากที่สุด ลดปัญหาพระปลอม พระเกิน พระผิดพิมพ์ได้มากครับ จะได้ลดปัญหาไม่ให้เกิดข้อขัดแย้งในรุ่นลูกรุ่นหลาน และยิ่งไปฟังตามปากเทพในวงการพระ ยิ่งปวดหัวครับ (ทั้งๆที่ตัวเทพเองก็ไม่ทันยุค เผลอๆไม่เคยไปวัดด้วยซ้ำ) ทำไปทำมาพูดซะคนทั่วไปแทบจะไม่มีโอกาสได้มีพระแท้เลย ทั้งๆที่คนรุ่นพ่อ รุ่นปู่ย่าตายาย รับมาจากวัดแท้ๆครับ            ทีนี้มาดูพระยุคเก่ากันบ้างครับ เช่น พระชุดเบญจภาคี ทั้งหลายในทุกประเภท และพระของครูบาอาจารย์เก่าแก่กันบ้างครับ สมัยนั้นกว่าที่ครูบาอาจารย์ หรือเจ้านาย หรือคหบดี หรือแม้แต่พระมหากษัตริย์ในยุคเก่าก่อน […]

ISO 9000 กับวงการพระเครื่อง ตอนที่2

สวัสดีครับ มาต่อกันกับตอนที่ 2  ของ ISO 9000 กับวงการพระเครื่องครับ ตอนที่แล้วได้กล่าวถึงตัวมาตรฐานไปบ้างแล้ว และได้ทิ้งท้ายไว้ว่า ระบบ ISO นั้นเริ่มต้นจากธุรกิจ และอุตสาหกรรม รถยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักก่อน เพราะต้องการให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนนั้น มีความเข้าใจถึงคุณภาพ ซึ่งบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านั้นได้ปรับปรุงมาโดยตลอด โดยได้รากฐานจากการผลิต อาวุธยุทโธปกรณ์ในสงครามมาก่อน ทีนี้เมื่อผู้ผลิตชิ้นส่วนเหล่านั้นต้องมาทำงานผลิตชิ้นส่วนให้บริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งหลาย พวกบริษัทใหญ่เขาจะมั่นใจได้อย่างไรว่าบริษัทเล็กๆเหล่านั้นทำได้ตามมาตรฐานบริษัทหรือไม่ และจะประกันได้หรือไม่ว่าจะทำของให้เขาได้ไม่แกว่งไปแกว่งมา ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลิตภันท์ของบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านั้น  ทีนี้มายกตัวอย่างง่ายๆกันครับ ถ้าเราจะเข้าไปกินอาหารซักร้านหนึ่ง ที่ร้านนี้ติดมาตรฐาน ISO 9000 ไว้เราจะได้อะไรบ้างในเรื่องอาหาร  เมื่อเราเข้าไปในร้าน ก็จะมีพนักงานในร้านปฏิบัติกับเรา เหมือนๆกับที่ทำกับลูกค้าท่านอื่นๆ ครับ เช่น สวัสดี เชิญนั่ง สั่งอะไรครับ เป็นต้น เมื่อเราสั่งอาหาร พนักงานก็อาจจะทวนให้เราฟังว่าเราสั่งอะไรบ้าง เพื่อประกันไม่ให้ทำผิด ไปทำอาหารให้เรา พ่อครัวก็จะทำตามสูตรอาหารเป๊ะๆเลย เพื่อประกันว่าจะเหมือนกันทุกจาน เช่น ผัดข้าวผัด ใส่นำ้มันก่อน ใส่ใข่ก่อน ใส่ข้าว ใส่นำ้ปลา 2ช้อน นำ้ตาล 1 ช้อน […]

ISO 9000 กับวงการพระเครื่อง ตอนที่1

สวัสดีครับ ช่วงนี้ทีมงาน DNA สมเด็จโตของเราได้ยินข่าวในวงการพระเครื่องเราเริ่มมีการพูดถึง ระบบ ISO9000 กันมากขึ้น ผมในฐานะอดีตที่ปรึกษา ISO9000 ให้กับบริษัทต่างๆในช่วงต้นของมาตรฐาน ISO9000:1994 เริ่มเข้าเมืองไทยก่อนปี 2540 ก็ถือโอกาสนี้จะมาเล่าให้ฟังคร่าวๆ เพื่อให้เพื่อนพี่น้องในวงการพระเครื่องให้เข้าใจถึงมาตรฐาน ISO9000 นี้ว่าเกี่ยวข้องอย่างไรกับพระเครื่องของไทยเรา และเป็นสิ่งที่จำเป็นซักมากน้อยแค่ไหน ว่าแล้วในตอนแรกนี้ก็จะเกริ่นให้ฟังกันก่อนเกี่ยวกับมาตรฐานตัวนี้กันครับ ระบบ ISO ย่อมากจาก International organization for standardization จะเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่กำหนดมาตรฐานสำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ และอุตสาหกรรม โดยมี ISO ที่สำคัญและเป็นที่คุ้นหูกันคือ ISO9000,ISO9001,ISO14000,ISO18000 โดย ISO9000 คือ ระบบบริหารเพื่อประกันคุณภาพ ที่สามารถตรวจสอบได้ผ่านเอกสาร ISO9001 คือ ระบบประกันคุณภาพ ตั้งแต่กระบวนการออกแบบ ผลิต ติดตั้ง และบริการ  จากนั้นยังแยกย่อยลงไปเป็น ISO9002,9003,9004 ซึ่งจะไม่กล่าวถึงรายละเอียดในที่นี้ ISO14000 คือ ระบบที่เกี่ยวกับมาตรฐานการจัดการกับสิ่งแวดล้อม ISO18000 คือ ระบบที่เกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยและอนามัย จะเห็นได้ว่า ISO […]