ถ้าท่านได้ติดตามข้อเขียน ของทางสถาบันพระแท้สมเด็จโตประเทศ (Thailand Genuine Somdej-Toh Amulet Institute ,TGSAI) มาตั้งแต่ตอนที่ 1-8 ท่านจะได้ทราบว่า ทำไมวิทยาศาสตร์กายภาพ (เคมีและพิสิกส์) จึงตรวจพิสูจน์ พระเนื้อผงสมเด็จโตทางวิทยาศาสตร์ได้จริง สำหรับตอนที่ 9 นี้ ทางสถาบันพระแท้สมเด็จโตประเทศ (Thailand Genuine Somdej-Toh Amulet Institute) จะขอสรุป เนื้อหาข้อเขียนทั้งหมดดังนี้
1.พระสมเด็จได้ทำมา 12 เนื้อ แต่ที่นิยมในปัจจุบัน มี 2 เนี้อ คือ
1.1 เนื้อผงปูนหินดิบ(CaCO3)
1.2 เนื้อผงปูนหินสุก(CaO)
ส่วนเนื้ออื่นๆหายากมากๆ เพราะสร้างน้อย เพราะสร้างในยุคต้นและยุคกลางเท่านั้น
2. พระเนื้อผงสมเด็จโต สร้างและปลุกเสกมาแล้ว มีอายุเกิน 146 ปี นับจากปี พ.ศ 2415 เป็นต้นมา
3. มวลสารที่ผสมอยู่ในเนื้อผงปูนของพระสมเด็จ เราจะสังเกตุพิจารณา มวลสารหลักในส่วนผสมที่สำคัญ เช่น ผงวิเศษ 5 ประการ (ผงปถมัง อิทธิเจ ตรีนิสิงเห มหาราช และผงพุทธคุณ) ผงเกสร ผงว่านมงคลต่าง ๆ ผงใบลาน ชานหมาก ผงข้าวสุก ผงตะไคล่ใบเสมา ผงดินสอ(ศิลาธิคุณ) ผงเหล็กไหล ผงตะใบเงิน ตะใบทอง กล้วยสุก ต้องผสมเข้ากับตัวประสาน ได้แก่ น้ำมันตังอิ๊ว น้ำผึ้ง น้ำอ้อยเคี้ยว ยางไม้ต่างๆ เนื้อพระบางองค์จะลงชาด ลงรัก ปิดทองไว้
4.ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ในเนื้อพระ (Physical) ได้แก่ สีผิว การเกิดชั้นของผงปูนหินดิบ(CaCO3)หรือผงปูนหินสุก(CaO)การเกิดการงอกตัวของผงปูนเพื่อซ่อมแซมตัวเองได้ ลักษณะการเกิดผลึกของแคลไซค์(Calcite) มากหรือน้อย หนาหรือบาง แคลไซต์มันจะหนาขึ้นตามอายุของพระ อายุพระมากแคลไซค์จะเกิดหนามาก เพราะเนื้อผงพระสมเด็จ คือ แคลเซี่ยมคาร์บอเนต(CaCO3) เมื่อกาลเวลาผ่านมาเกิน 146 ปี ซึ่งเป็นเวลาอันยาวนาน ผงปูนและส่วนผสมในเนื้อพระสมเด็จ บางกลุ่มก็ย่อยสลาย เช่น เกสรดอกไม้ ว่านมงคลต่างๆ ส่วนผงปูน CaCO3 ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงกายภาพ เรียก แคลไซค์(CaCO3) นี้คือการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของผงปูนในเนื้อพระสมเด็จที่ต้องเกิดขึ้นเมื่อเป็นพระเก่า
5. ท่านสมเด็จพุฒาจารย์โตได้สร้างพระ มีหลายพิมพ์ มีหลายเนื้อ แบ่งเป็นเนื้อละเอียด เนื้อปานกลาง เนื้อหยาบ เนื้อพระจะต้องมีความเก่า มียุบ มีปริแยก มีย่น มีหด มีความเหี่ยวและแห้ง นี้คือการเปลี่ยนในเนื้อพระสมเด็จทางกายภาพที่เป็นหลักฐาน ดังนั้น วิทยาศาสตร์กายภาพ(เคมี,พิสิกส์) จึงสามารถตรวจสอบพิสูจน์ เนื้อผงปูนหิ นดิบ(CaCO3)และ เนื้อผงปูนหินสุก(CaO) ประมาณอายุ ตามยุคของพระสมเด็จ เป็นที่เชื่อถือได้ดีที่สุดในปัจจุบัน
6. คาร์บอน14 (C14)ไม่เหมาะที่จะนำมาตรวจพระสมเด็จ เพราะพระสมเด็จมีอายุนัอยเกินไปทำให้ค่าการตรวจรายละเอียดบอกได้ไม่ชัดเจน C14 จึงเหมาะใช้ตรวจวัตถุที่มีอายุมากเกินกว่า 1000 ปีขึ้นไป
7. คุณสมบัติของผู้ที่จะทำการตรวจพิสูจน์ และวิเคราะห์ผลการตรวจ พระผงสมเด็จโตทางวิทยาศาสตร์
7.1 ต้องมีความรู้ขั้นพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับพระสมเด็จโต
7.2 ต้องศึกษามีความรู้เรื่องพระสมเด็จ ตั้งแต่ประวัติความเป็นมา การสร้างพระ เนื้อหามวลสารในพระสมเด็จ พุทธศิลป์ พิมพ์ทรงต่างๆ และอื่นๆมาเป็นอย่างดี
7.3 ต้องเป็นผู้ มีประสบการณ์ ความชำนาญในพระสมเด็จโตมาไม่น้อยกว่า 10 ปีขึ้นไป ( ไม่ใช่บุคคลที่ดูพระสมเด็จมาตามคำบอกเล่า ดูตามจุดที่กำหนด ที่ได้รู้มา ตั้งตนเป็นผู้รู้ เห็นพระแต่ไกลแล้วบอกไม่ใช่ นี่ไม่ใช่ผู้มีประสบการณ์ มีความชำนาญ )
7.4 ต้องมีความชื่อสัตย์ชื่อตรง มีคุณธรรม