ตอนที่ 8 การตรวจพิสูจน์พระผงสมเด็จโตทางวิทยาศาสตร์ (ต่อ)

 

สำหรับตอนที่ 8 นี้ ทางสถาบันพระแท้สมเด็จโตประเทศ (Thailand Genuine Somdej-Toh Amulet Institute ,TGSAI)

ขอเสนอวิธีการตรวจพิสูจน์เนื้อพระสมเด็จโตทางกายภาพ(พิสิกส์) เพื่อสังเกตุดูการเปลี่ยนแปลงกายภาพและความเก่าของเนื้อพระสมเด็จ ที่มีอายุมากกว่า 146 ปี ( 2415- 2561) ว่ามีการเปลี่ยนอย่างไรบ้าง เพื่อเทียบกับองค์พระแท้ตัวอย่างมาตรฐานอ้างอิง

     *เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ที่ใช้ในการตรวจพิสูจน์ พระผงสมเด็จโต

 

      1. ตัวประมวลผลคอมพิวเตอร์

      2. กล้องส่องเนื้อพระ แบบไมโครสโคป ขนาดกำลังขยายสูง พร้อมเลนส์ที่เห็นสีชัดเจน

      3. พระสมเด็จแท้ที่มีความชัดเจนมีอายุทันท่านสมเด็จโต สร้างและปลุกเสก เพื่อเป็นพระตัวอย่าง(พระองค์ครู)เป็นแบบมาตรฐานอ้างอิง

       4. กล้องถ่ายภาพ

       5. พระสมเด็จองค์ที่จะนำมาตรวจพิสูจน์. 

       6. กล้องส่อง ขยายขนาด 10 x เพื่อส่งดูพิมพ์พระสมเด็จโต

       *คุณสมบัติของผู้ที่จะทำการตรวจพิสูจน์ และวิเคราะห์ผลการตรวจ พระผงสมเด็จโตทางวิทยาศาสตร์ (อ่านรายละเอียดในตอนที่ 7 )

 

      * วีธีการตรวจพิสูจน์ และการวิเคราะห์ผลจากการตรวจพิสูจน์ทางกายภาพ(Physical)

        1. นำพระสมเด็จที่จะตรวจเข้าวางไว้ในตำแหน่งที่กำหนด

        2. ใช้กล้องขยายกำลังสูง ส่องขยายดูเนื้อพระ รอบองค์พระ ทั้งด้านหน้าพระ ด้านหลังพระ ด้านข้างพระ สังเกตุพิจารณาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ (Physical)ของเนื้อพระ ว่ามีการเปลียนแปลง อย่างไรบ้าง

       3. สังเกตุดูมวลสาร ในเนื้อพระสมเด็จว่ามีมวลสารอะไรบ้าง ตรงตามข้อมูลการสร้างหรือไม่

       4. สังเกตุดูการจับตัว ของโมเลกุลของสารแต่ละชนิดที่เกิดขึ้นในเนื้อผงพระสมเด็จโต

       5. สังเกตุการเกิดผลึกแคลไซต์(Calcite)ในองค์พระสมเด็จ มีมากน้อยเพียงใด

       6 .สังเกตุดูการปริแยก ย่น การหดตัว การเหี่ยวแห้งในเนื้อพระสมเด็จ

       7. สังเกตุดูการเปลี่ยนสีวรรณะของมวลสารในเนื้อพระสมเด็จ

       8. สังเกตุดูการเกิดชั้น ของผงปูนในเนื้อพระสมเด็จ

       9. สังเกตุดูการเกิดการงอกตัว ของผงปูน

       10. สังเกตุดูผงทอง และอื่นๆในเนื้อพระสมเด็จ

 * เมื่อเราส่องขยายในเนื้อพระสมเด็จดู เราจะสังเกตุพิจารณา ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ในเนื้อพระ (Physical) ได้แก่ การศึกษาสีผิว การเกิดชั้นของผงปูนหินดิบ(CaCO3)หรือผงปูนหินสุก(CaO)การเกิดการงอกตัวของผงปูนเพื่อซ่อมแซมตัวเองได้ ลักษณะการเกิดผลึกของแคลไซค์(Calcite) มากหรือน้อย หนาหรือบาง แคลไซต์มันจะหนาขึ้นตามอายุของพระ อายุพระมากแคลไซค์จะเกิดหนามาก เพราะเนื้อผงพระสมเด็จ คือ แคลเซี่ยมคาร์บอเนต(CaCO3) มีทั้งเผาและไม่เผา เมื่อกาลเวลาผ่านมาเกิน 146 ปี ซึ่งเป็นเวลาอันยาวนาน ผงปูนและส่วนผสมในเนื้อพระสมเด็จ บางกลุ่มก็ย่อยสลาย เช่น เกสรดอกไม้ ว่านมงคลต่างๆ ส่วนผงปูน CaCO3 ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงกายภาพ เรียก แคลไซค์(CaCO3) นี้คือการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของผงปูนในเนื้อพระสมเด็จที่ต้องเกิดขึ้นเมื่อเป็นพระเก่า ดังนั้นวิทยาศาสตร์จึงสามารถประมาณอายุ ตามยุคของพระสมเด็จได้

 

    *  ส่วนมวลสารที่ผสมอยู่ในเนื้อผงปูนของพระสมเด็จ เราจะสังเกตุพิจารณา มวลสารหลักในส่วนผสมที่สำคัญ เช่นผงวิเศษ 5 ประการ (ผงปถมัง อิทธิเจ ตรีนิสิงเห มหาราช และผงพุทธคุณ) ผงเกสร ผงว่านมงคลต่าง ๆ ผงใบลาน ชานหมาก ผงข้าวสุก ผงตะไคล่ใบเสมา ผงดินสอ(ศิลาธิคุณ) ผงเหล็กไหล ผงตะใบเงิน ตะใบทอง กล้วยสุก ต้องผสมเข้ากับตัวประสาน ได้แก่ น้ำมันตังอิ๊ว น้ำผึ้ง น้ำอ้อยเคี้ยว ยางไม้ต่างๆ เนื้อพระบางองค์จะลงชาด  ลงรัก ปิดทองไว้ มวลสารเหล่านี้ เมื่อผสมเข้ากับผงปูนกันแล้ว จะได้ลักษณะของเนื้อพระสมเด็จ ที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่ในแต่ละครั้งที่สร้างพระ คือ มีหลายพิมพ์ มีหลายเนื้อนั่นเอง แบ่งเป็นเนื้อละเอียด เนื้อปานกลาง เนื้อหยาบ เป็นต้น เนื้อพระจะต้องมีความเก่า มียุบ มีปริแยก มีย่น มีหด มีความเหี่ยวและแห้ง นี้คือการเปลี่ยนในเนื้อพระสมเด็จทางกายภาพที่เป็นหลักฐาน วิทยาศาสตร์ จึงสามารถตรวจสอบพิสูจน์ได้

 

      “วัตถุเดียวกัน มวลสารเดียวกันอายุการสร้างเท่ากัน ลักษณะการเปลี่ยนแปลงกายภาพต้องเหมือนกัน “

 

       (โปรดติดตาม ตอนที่ 9 ต่อไป)

    ที่มา อาจารย์ อร่าม เริงฤทธิ์ BS.Tech.Ed., M.I.Ed.(KMITL) ประธานและผู้อำนวยการ สถาบันพระแท้สมเด็จโตประเทศไทย(Thailand Genuine Somdej-Toh Amulet Institute) และเป็นรองนายกสมาพันธ์พระเครื่องไทยนานาชาติ(International Thai Amulet Confederation) โทร092-578-5155, line ID idd 5155 หรือติดตามข้อมูลได้ที่ เพจ สถาบันพระแท้สมเด็จโตประเทศไทย วันที่ 25/6/2018.