ตอนที่ 5 การตรวจพิสูจน์พระเนื้อผงสมเด็จโตทางวิทยาศาสตร์

 

ตอนที่ 5 การตรวจพิสูจน์พระเนื้อผงสมเด็จโตทางวิทยาศาสตร์

    ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า พระเนื้อผงที่ท่านสมเด็จพุฒาจารย์โต สร้างและปลุกเสกนั้น จำเป็นต้องศึกษาพระสมเด็จทางวิชาการ ซึ่งเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ โดยจะต้องศึกษาให้ครบทุกด้าน เช่น ศึกษาทางประวัติศาสตร์(History)วัฒนธรรมความเชื่อ(Culture & Belief)มนุษย์และสังคมศาสตร์(Human & Social Sciences)พุทธศิลป์(Amulet Art)วิทยาศาสตร์(Sciences)และพลังพุทธคุณ (Power & Mind)เพื่อให้มีความรู้และเข้าใจพระสมเด็จที่ถูกต้องและเราจะได้พระสมเด็จแท้ไว้ครอบครองครับ 

 

      สถาบันพระแท้สมเด็จโตประเทศไทย (TGSAI)  จึงให้ความสำคัญมากเป็นอันดับแรกของการศึกษาพระ คือด้านวิทยาศาสตร์ต่อองค์พระสมเด็จโต เพื่อที่จะพิสูจน์หาความจริงในองค์พระสมเด็จ ว่ามี่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเนื้อหาเป็นอย่างไรและมีอายุทันท่านสมเด็จพุฒาจารย์โตสร้างและปลุกเสกหรือไม่ นี่คือความจริงที่มีเหตุผลมีหลักฐานรองรับพิสูจน์ได้

 

      10-30 กว่าปีที่ผ่านมา พระสมเด็จยังไม่มีการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ จึงหาความจริงที่ถูกต้องไม่ได้ ผู้นิยมสะสมพระหรือผู้รักพระเมื่ออยากจะรู้ว่าพระตัวเองแท้หรือไม่แท้ ถ้าเราดูพระไม่เป็นและไม่ศึกษาจากหนังสือตำราหรือจากผู้ชำนาญการแล้ว เราจะมีทางเลือกอยู่ 2 ทาง เท่านั้น คือ

 1.นำพระสมเด็จไปหาบุคคลต่างๆว่าเป็นผู้รู้มีประสบการณ มีความชำนาญดูพระสมเด็จให้ ถ้าผู้รู้บุคคลนั้น มีความชื่อสัตย์และมีคุณธรรม บุคคลนั้นก็จะบอกความจริงกับเรา เราก็จะได้ทราบว่าพระองค์นี้แท้หรือไม่แท้ แต่ถ้าบุคคลนี้ ไม่มีความชื่อสัตย์ ไม่มีคุณธรรมแล้ว เราจะถูกบุคคลเหล่านี้ หลอกว่า พระนั้นเก๊บ้าง พิมพ์ทรงถูกเนื้อไม่ใช่บ้าง เนื้อใช่พิมพ์ไม่ถูกบ้าง อายุไม่ถึงบ้าง หรือเห็นพระแต่ไกลบอกว่าไม่ใช่บ้าง เขิ่ยทิ้งบ้าง ไม่มีในสาระบบบ้าง และคำพูดอื่นๆที่พูดทางพระไม่ดีอีกมากมาย จึงทำให้วงการพระขาดมาตรฐาน ผู้คนในวงการจะรู้ว่าถ้าจะหาพระแท้ต้องไปเอากับบุคคลนั้นบุคคลนี้ ซึ่งสรุปแล้วว่าในสนามพระเครื่องในประเทศไทยมีพระสมเด็จแท้จำนวนไม่กี่องค์ นอกนั้นเก๊หมด

 

     2. นำพระส่งเข้าประกวด เพื่อจะให้กรรมการดูว่าพระแท้หรือไม่ แต่แล้วเราก็รู้ว่าบางชมรม บางสมาคม เล่นระบบพรรคพวก ถ้าพระของพรรคพวกตัวเองพระก็แท้ ถ้าไม่ใช่กลุ่มพวกของตัวเองก็เก๊ หรือบ้างครั้งไม่ดูหน้าพระเลยแถมยังบอกว่าไม่ใช่ เขี่ยพระที้งออกจากการประกวด นี่ยี่งห่างไกลความจริงมาก(ไม่ได้ดูพระ) กรรมการยังไม่มีความมั่นคงแน่นอนเลย สอบถามกรรมการต่างก็โยนกันไปโยนกันมาหรือกรรมการดูพระเป็นกันกี่คน ทำให้มีปัญหาคาใจ ว่าพระเราแท้หรือไม่แท้กันแน่

 

     จากทางเลือกข้างต้น  ไม่สามรถทำให้ผู้สะสมพระและนิยมพระเชื่อถือได้ ทั้งๆที่บางคน บางครอบครัว ได้รับพระมรดกมาจากปู่ย่าตายาย ซึงประวัติก็เป็นที่แน่นอนว่าแท้แน่ๆ แต่ก็ยังไม่สามารถที่จะหาความจริงจากกลุ่มคนเหล่านี้ ถ้าเป็นอย่างนี้แล้ววงการพระจะเชื่อใคร? ตามประวัติและความจริงพระสมเด็จโตมีมากมายกว่าที่บุคคลเหล่านั้นกำหนดหรือกำจัดรูปแบบลักษณะพิมพ์และปีที่สร้างว่าเป็นพระแท้ เรามีข้อมูลและหลักฐานที่ปรากฎ เฉพาะกรุวัดบางขุนพรหมมีการสร้างบรรจุกรุไว้ 84,000 องค์ วัดเกศไชโย และกรุอื่นๆอีก ไม่น้อยกว่า 84,000 องค์ และที่วัดระฆังอีก รวมกรุวังหน้าวัดพระแก้ว รวมทั้งหมดอาจมีมากกว่า. 200,000 องค์

 

      อย่าเชื่อแต่เพียงลมปาก หรือจากคำบอกเล่าต่อๆกันมา อย่าเชื่อในสี่งที่เรายังไม่ได้พิสูจน์  จงเชื่อในสี่งที่พิสูจน์ไ์ด้  เห็นด้วยตาใช้ประสาทคิด และมีหลักฐานอ้างอิงได้ นั่นคือต้องตรวจทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น  วิทยาศาสตร์ จะบอกความจริงท่านได้ นี้คือทางเลือกที่ดีที่สุดในการพิสูจน์ตัดสินพระสมเด็จในปัจจุบัน ว่าเป็นพระสมเด็จแท้ หรือพระสมเด็จเก๊ ทีนี้เรามาดูสิว่า  คำว่าวิทยาศาสตร์หมายถึงอะไร?

 

      วิทยาศาสตร์ หมายถึง “ความรู้ต่างๆจากสิ่งที่มีชิวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต ตามธรรมชาติ ด้วยกระบวนการสังเกตุ การค้นคว้าหาความรู้ อย่างมีขั้นตอน มีระเบียยแบบแผน โดยมีเหตุผล และหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ตามหลักวิชาการที่นำมาอ้างอิงได้”  

   

      ดังนั้นวิทยาศาสตร์จึง ทำให้มนุษย์ได้พัฒนาความคิด เพราะเป็นเรื่องของเหตุผล เป็นสิ่งที่ต้องค้นคว้าวิจัยศึกษาและทดลอง ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ยังช่วยให้เกิดการพัฒนาทุกๆด้าน มีผลต่อการพัฒนาในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ให้มีคุณภาพดีขึ้น 

 

      การศึกษาพระผงสมเด็จโตตามหลักวิทยาศาสตร์ นั้นคือ เราจะศึกษาเฉพาะทางวิทยาศาสตร์กายภาพ เท่านั้น( ทางพิสิกส์และเคมี) ได้แก่ การศึกษา เนื้อพระผง มวลสาร สีผิว การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของเนื้อพระ การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติของเนื้อพระ ลักษณะการเกิดผลึกหนาหรือบาง การเกิดการงอกตัว การยุบตัว การปริแยกของเนื้อพระ การย่นการหดตัว การเหี่ยวการแห้งตัว รวมถึงการเกิดแคลไซค์(Calcite) ในโครงสร้างของเนื้อพระ เพราะพระสมเด็จมีอายุสร้างมาเกินกว่า 146 ปีนับแต่ปี พ.ศ.2415 เป็นต้นมา กาลเวลาเป็นร้อยกว่าปีทำให้โครงสร้างเปลี่ยนแปลงครับ

      การตรวจพระผงสมเด็จโต หาอายุทางวิทยาศาสตร์มีวิธีการใดบ้าง?

      ( โปรดติดตามตอนต่อไปครับ ตอนที่ 6 การตรวจพิสูจน์พระเนื้อผงสมเด็จโตทางวิทยาศาสตร์)

      ที่มา อาจารย์ อร่าม เริงฤทธิ์ BS.Tech.Ed.,M.I.Ed. (KMITL) ประธานและผู้อำนวยการ  สถาบันพระแท้สมเด็จโตประเทศไทย(Thailand Genuine Somdej-Toh Amulet Institute) และเป็นรองนายกสมาพันธ์พระเครื่องไทยนานาชาติ(International Thai Amulet Confederation) โทร092-578-5155, line ID idd 5155 วันที่ 16/6/2018.